สถาบันส่งเสริมศักยภาพมนุษย์และองค์การ ติดต่อ 081-4419456 , 097-9461593

เกี่ยวกับเรา

About us

คุณค่าและจุดประสงค์ Value & Purpose

ในประสบการณ์การทำงานร่วมกับมนุษย์ทั้งในองค์การและนอกองค์การ เราให้คุณค่าคนทุกคนในฐานะที่เป็นทั้งปัจเจกบุคคล และเป็นกลุ่มสมาชิกในองค์การ ที่มีส่วนในการสร้างสังคมให้ดีและมีความสุข เราเคารพในความแตกต่าง เปิดกว้างในการรับฟัง และใส่ใจต่อทุกความต้องการในการพัฒนา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมและดีที่สุด

อีกทั้ง ในการทำงาน เราให้คุณค่ากับ “กรอบความคิด” “ความเชื่อมโยง” และ “การบูรณาการการเรียนรู้” โดยมีจุดประสงค์หลักสำคัญคือการสร้างความแข็งแรงจากภายใน เพื่อนำไปสู่ความแข็งแกร่งที่เห็นได้จากภายนอก นั่นคือผู้คนได้รับการพัฒนา มีความตระหนักรู้ เบิกบาน เรียนรู้จากความเข้าใจในกรอบความคิดแบบใหม่ มีแรงผลักดัน (passion) อันจะนำไปสู่พัฒนาการในการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เมื่อผู้คนได้รับการยกระดับทางความคิด ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และมีแรงขับในการพัฒนา นั่นคือจุดประสงค์เราบรรลุเป้าหมายแล้ว

รูปแบบแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ Development Way

เรานำหลักการพัฒนาการเรียนรู้ที่สร้างประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงความคิด พฤติกรรม วิถีปฏิบัติเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่เกิดจากภายใน ทั้งกระบวนของสมอง การคิด การใคร่ครวญ ตระหนักรู้ เพื่อให้เกิดการหยั่งลึกถึงภายใน และนำไปสู่การเข้าใจและมีกรอบแนวคิดใหม่ ( Reframe) จนนำไปสู่แนวคิด ความเชื่อ พฤติกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า ตัวอย่างหลักการที่นำมาผสมผสานและสร้างการเรียนรู้ใหม่แนว Blended learning ดังนี้

Transformative Learning  คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเปลี่ยนแปลง หลังจากผ่านประสบการณ์ (experience) นำมาคิดใคร่ครวญ (contemplative thinking) สะท้อนการเรียนรู้(critical reflection) แลกเปลี่ยนกัน (rational discourse) และใช้การสนทนา(dialogue) เพื่อให้ได้ข้อสรุป (conceptualization) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองจากภายใน (behavior change/ inside out) การการเรียนรู้แนวนี้ นิยมใช้แนวทางจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) เพื่อให้ผู้เรียนรู้เกิดความสุข สนุก เพลิดเพลิน และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้

ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มย่อยทีมีการนําปัญหาที่กลุ่มสนใจ และมีผลกระทบต่อทั้ง กลุ่มและองค์กรมาเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาและการพัฒนาแนวทาง แก้ปัญหา และนําไปลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจริง โดยลักษณะเฉพาะของการเรียนรู้จากการ ปฏิบัติ (Action Learning) อะทิเช่น เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการทํางาน เป็นการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้ร่วมงานวิจารณ์และแนะนํา ซึ่งการซักถาม พูดคุย่จะนําไปสู่ทางออกใหม่ๆที่ แตกต่าง นําความรู้มา คิดใคร่ครวญแลกแลกเปลี่ยนถ่ายทอดแก่กัน ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียนรู้ ทีม และองค์การ โดยการเรียนรู้นี้เกิดจากความสมัครใจและขับเคลื่อนโดยผู้เรียนและกลุ่ม

การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) คือกระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติด้วยการนำเอา ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนรู้มาบูรณาการเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ขึ้น

โดยมีจุดเด่นที่เพิ่มขึ้นมา คือการทบทวนประสบการณ์ หรือ นำสิ่งที่ลงมือทำมาตกผลึกความคิด เพื่อให้ได้รับรู้ถึงความรู้ใหม่ที่ได้รับ เป็นการนำไปต่อยอดความรู้เดิม หรือ สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทอื่น ๆ สำหรับตัวเอง

การเรียนรู้ ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยไม่สกัดกั้นการทำงานของสมอง แต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ ที่สุด ภายใต้แนวคิดที่ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ทุกคนมีสมองพร้อมที่จะทำเรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด

ทั้งนี้ก่อนการสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ หรืองานที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาองค์การ จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อทราบประเด็น สาเหตุ ความเป็นมา ความต้องการ ก่อนการออกแบบโปรแกรมการเรียนรู้ หรืองานพัฒนาองค์การ ตามแต่ละบริบท

รูปภาพการคุยงานกับลูกค้า

ตัวอย่าง นวัตกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนามนุษย์รูปแบบใหม่ และการเรียนรู้ใหม่ๆ

Micro learning

Game based learning

Gamification

Drama

Dialogue

Story telling

Coaching & Mentoring

Facilitate

Community of Practice

Etc.

โดยรูปแบบการเรียนรู้มีทั้ง Onsite,Onlite,Hybrid โดยออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมที่สุด โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( Learner centric) โดยสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ท่านต้องการ และให้เราทำการออกแบบโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการพัฒนาบุคลากรที่มีค่าของท่าน

ค่านิยมหลักในการดำเนินงาน

SUSTAIN การดำเนินการเพื่อสร้างความยั่งยืน

Synchronize

ดำเนินงานตามหลักการและสอดคล้องไปด้วยกันกับความต้องการของลูกค้า

Understanding

สร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนในแนวทางที่นำเสนอ แนวทางปฏิบัติและการติดตามผล

Simplify

ทำกระบวนการต่างๆให้ง่ายต่อผู้เรียนรู้ ง่ายกับองค์การ  ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้

Trust

สร้างความน่าเชื่อถือ และสามารถไว้วางใจได้ โดยยึดมั่นต่อหลักจรรยาบรรณ

Appreciative Inquiry

ใช้คําถามเชิงบวกในการค้นหาคุณค่าและศักยภาพที่มีอยู่ของบุคคล ทีม องค์กร เพื่อสร้างแนวทางพัฒนาและเปลี่ยนแปลงคนในองค์กร

Integration

การผสมผสาน การบูรณาการเครื่องมือต่างๆ ประสบการณ์ หลักการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

New way

สร้างแนวทางรูปแบบใหม่ แนวคิดใหม่ วิถีใหม่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนรู้ องค์กร นำไปใช้ได้อย่างยั่งยืน